Relative Clauses เป็นประโยคที่ทำหน้าที่คล้าย adjective ใช้ขยายคำนามที่วางอยู่ข้างหน้า
Relative Clauses แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. Defining Relative Clause ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
a) ทำหน้าที่คล้าย adjective เพื่อบอกลักษณะหรือขยาย noun
ซึ่งอยู่ข้างหน้าเพื่อให้ได้ใจความสมบูรณ์ และชัดเจนว่าเป็นคนไหน อะไร ของใคร เป็นต้น
b) ไม่มีเครื่องหมาย comma อยู่ระหว่า noun กับ relative clause เช่น
The man came here yesterday. ในประโยคนี้ เราจะไม่ทราบว่าผู้ชายคนไหน
ที่มาเมื่อวานนี้ แต่ถ้าเราเติม relative clause ว่า
The man who works in your office came here yesterday.
ผู้ฟังจะเข้าใจแจ่มแจ้งทันทีว่าหมายถึงใคร
The house that stands at the end of the street is very old.
(ในประโยคข้อความสีแดง เป็น relative clause (ประโยคย่อย) ที่บอกให้เราทราบว่า
หมายถึงบ้านหลังไหน ถ้าเราเอา relative clause ในประโยคนี้ออกเสีย ข้อความในประโยคจะไม่ชัดเจน )
2. Non-defining relative Clause ได้แก่ clause ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
a) ไม่มีความจำเป็นแก่ใจความในประโยค เพียงแต่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้ได้ความละเอียดมากขึ้น
จากสิ่งซึ่งทราบแล้ว
b) ต้องมีเครื่องหมาย comma ข้างหน้าเสมอ
c) ต้องไม่ใช้ relative pronouns ซึ่งไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น who หรือ which จะใช้ that ไม่ได้เลย
เช่น James Smith , who lives next door , came here yesterday.
(ในประโยคข้างต้น relative clause "who lives next door" ไม่มีความจำเป็นเลย
เพราะเอ่ยชื่อ James Smith เราก็ทราบแล้วว่าคือใคร
(คลิ้กเข้าไปดูรายละเอียดของแต่ละชนิดนะคะ)